คุณค่าทางยาและฤทธิ์ทางชีวภาพของมะรุม
มะรุมมีสารพฤกษเคมีที่หลากหลาย เช่น glucosinolates, isothiocyanates, alkaloids(moringine และ moringinine), flavonoids (kaemferol, rhamnetin, isoquercitrin และ kaempferitrin), β-sitosterol ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนมีฤทธิ์ทางชีวภาพ จึงทำให้มะรุมมีฤทธิ์ชีวภาพที่น่าสนใจ เช่นลดความดัน (antihypertensive) ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ปวดเกร็งในช่องท้อง "ช่วยในเคสนี้ มีการเห็นผลที่ดีขึ้น" แผลในทางเดินอาหาร ป้องกันตับ ต้านแบคทีเรียและรา ต้านเนื้องอก ต้านมะเร็ง เป็นต้น
Phytochemistry
Phytochemical คือ สารเคมีที่ได้จากพืชโดยมีผลต่อสุขภาพ หรือมีรูป รส กลิ่น และสีโดยธรรมชาติ พืชในตระกูลมะรุมนั้นอุดมไปด้วยน้ำตาล, rhamnose, ส่วนประกอบเฉพาะ glucosinolates และ isothiocyanates ส่วนประกอบเฉพาะนี้มีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็งและแบคทีเรียได้ 4-(4’-O-acetyl-C-L-rhamnopyranosyloxy)benzyl isothiocyanate(1), 4-(C-L-rhamnopyranosyloxy)benzyl isothiocyanate(2), niazimicin (3), pterygospermin (4), benzylisothiocyanate(5),and 4-(C-L-rhamnopyranosyloxy) benzyl glucosinolate (6).
อ้างอิงจาก บทความทางการแพทย์เรื่อง คุณสมบัติทางโภชนาการ, การ โรค, และการป้องกันโรค โดย Jed W. Fahey, Sc. D Johns Hopkins School of Medicine, Department of Pharmacology and Molecular Sciences, Lewis B. and Dorothy Cullman Cancer Chemoprotection Center
จากการศึกษาข้อมูลของ Jed W. Fahey, Sc. D ในด้านคุณสมบัติทางโภชนาการ พบว่าสาร Nitrile, mustard oil glycosides และ thiocarbamate glycosides ซึ่งสกัดแยกได้จากใบมะรุม มีฤทธิ์ลดระดับความดันโลหิต ซึ่งสารที่พบในกลุ่มนี้ทั้งหมด เป็นสารในกลุ่ม glycosides ที่ผ่านปฏิกิริยา acetylation และพบปริมาณน้อยในธรรมชาติ แต่มีความสำคัญทางเภสัชวิทยา และเมื่อทำการสกัดใบมะรุมด้วยตัวทำละลาย ethanol และแยกสาระสำคัญ จากสารสกัดดังกล่าว พบว่าได้สารบริสุทธิ์4ชนิด ได้แก่ niazinin A, niazinin B, niazimicin และ niazinin A+B ซึ่งทั้งหมดแสดงฤทธิ์ลดความดันโลหิตในหนูทดลอง
รวมไปถึงมีการศึกษาค้นคว้าฤทธิ์ชีวภาพของสารสกัดใบมะรุม ทั้งนี้มีแนวโน้มที่จะสนับสนุนให้ มีการผลิตเพื่อเป็นยาสมุนไพร มีรายงานพบว่าใบมะรุม เป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่ดี เนื่องจากพบกลุ่มของสารดังกล่าว เช่น vitamin C,á-tocopherol, flavonoids, phenolics, carotenoids ซึ่งชะลอความเสื่อมของเซลล์และป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังพบว่าสารกลุ่ม oestrogenics และ β-sitosterol อยู่เป็นปริมาณมาก ซึ่งแสดงถึงความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาใบมะรุมและฝักมะรุม เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ใบมะรุมมี essential amino acids ซึ่งเป็น amino acid ที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์เพราะร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องรับจากอาหารที่รับประทานเข้าไปเท่านั้น
เมื่อสกัดใบมะรุมด้วย ether จะได้ á และβ carotene
- ในดอก พบ amino acid 9 ตัว
- ในผล พบ amino acid 8 ตัว
อ้างอิงจาก satyavati, G.V., A.K. Gupta and N. Tandon. Medicinal Plants of India. Campridge Printing Works, New Delhi. 1987: Vol.2,600.
งานวิจัย องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของมะรุม Moringa oleifera Lam.
โดย ดารารัตน์ แย้มหมื่นอาจ, วรินทร ชวศิริ และ คล้ายอัปสร พงศ์รพีพร
หน่วยวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ, ภาควิชาเคมีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
บทคัดย่อ
แยก β-Sitosterol-3-O-β-D-glucopyranoside และ 4-(isothiocyanatomethyl) phenol ได้จากรากมะรุม โครงสร้างของสารทั้งหมดพิสูจน์จากข้อมูลทางสเปกโทรสโกปี และพบสารว่า ?-Sitosterol-3-O-β-D-glucopyranoside แสดงฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ
ผลที่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล และ การดำเนินชีวิตในประจำวันที่ถูกต้อง