การใช้มะรุมในรูปแบบต่างๆ
หลายประเทศยกให้ “มะรุม” เป็นพืชมหัศจรรย์ The Miracle Tree
จากเอกสารหลายชิ้นจากต่างประเทศได้มีการยกย่องให้มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ เห็นได้จากในช่วงหลายศตวรรษนี้ มีการสนับสนุนให้มีการนำมะรุมมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และในอุตสาหกรรมเป็นวงกว้าง ทั้งในประเทศอินเดีย เอธิโอเปีย ฟิลิปปินส์ บอสวานา ซูดาน ฮาวาย ปากีสถาน เซเนกาล เฮติ และอีกหลายประเทศในทวีปแอฟริก
ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ในประเทศต่างๆดังนี้
ประเทศในโซนเขตร้อน เช่น เซเนกาล , เฮติ นำมาใช้กับคนที่มีอาการของโรคขาดสารอาหาร โดยเฉพาะในเด็กอ่อนและแม่หลังคลอด บางประเทศนำเปลือก, ผล, ใบ, เมล็ด, หัว, ราก, ดอกของมะรุม
ญี่ปุ่น มีการผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่าย ใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศีรษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบาย
อินเดีย มีการใช้ใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็กในสตรีตั้งครรภ์ อีกทั้งยังนำมาใช้ลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วน และใช้เมล็ดช่วยแก้ปัญหา"ช่วยในเคสนี้ มีการเห็นผลที่ดีขึ้น" เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สำหรับผลิตภัณฑ์มะรุมนั้นมีหลากหลายชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์มะรุมเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เน้นลูกค้าในแถบยุโรปโดยขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ในอินเดียยังบริโภคฝักมะรุมสด และเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ
บอสวานา มีการให้กินแกงจืดใบมะรุม ในหญิงที่ให้นมบุตรเพื่อช่วยเสริมสร้างน้ำนมและเพิ่มแคลเซียม
ฟิลิปปินส์ มะรุมถูกเรียกว่า mother’s best friend เพราะสามารถช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม และในบางครั้งก็ใช้ เหมาะสำหรับโลหิตจางด้วย
สหรัฐอเมริกา ในรัฐฟอลริด้า นิยมปลูกต้นมะรุมกันแทบทุกบ้าน เพราะรู้ว่า "ช่วยในเคสนี้ มีการเห็นผลที่ดีขึ้น" โรคมะเร็งได้ โดยนำมาประกอบอาหารหลากหลายชนิด และยังสามารถขายเป็นรายได้เสริมอีกด้วย
การใช้เป็นยาตามภูมิปัญญาท้องถิ่น
มีการใช้อย่างกว้างขวางในหลายประเทศ โดยเฉพาะในแถบอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ เป็นต้น ส่วนสำคัญที่นำมาใช้เป็นยา ได้แก่ ราก ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งการจัดทำเป็นรายงาน โดย Hartwell (1967-1971) ชนพื้นเมืองในประเทศต่างๆ ได้ใช้ดอก ใบ และรากของมะรุมในการ "ช่วยในเคสนี้ มีการเห็นผลที่ดีขึ้น" เนื้องอก เมล็ดใช้ในการ "ช่วยในเคสนี้ มีการเห็นผลที่ดีขึ้น" เนื้องอกในช่องท้อง รากนำมาต้มดื่มแก้อาการท้องมาน หรืออาการบวมน้ำ น้ำสกัดจากรากใช้ทาภายนอกแก้การระคายเคือง ใบใช้พอกแผล หรือถูขมับแก้ปวดศีรษะ
นอกจากนี้ ส่วนของใบยังใช้เป็นยาถ่ายหรือยาระบาย ส่วนของเปลือก ใบ และราก มีรสเผ็ดร้อน และมีกลิ่นฉุน ช่วยส่งเสริมการย่อยอาหาร น้ำมันถ้ากินโดยตรงเป็นอันตราย แต่สามารถใช้กับโรคที่เป็นภายนอกร่างกายได้ ส่วนของเปลือกให้วิตามินแลยางสีแดงซึ่งใช้ในการ "ช่วยในเคสนี้ มีการเห็นผลที่ดีขึ้น"โรคท้องร่วง ส่วนของรากมีรสขม ใช้เป็นยาบำรุงปอดและร่างกาย และทำให้ประจำเดือนมาปกติ ลดอาการไอที่มีเสมหะ เป็นยาขับปัสสาวะอย่างอ่อน และกระตุ้นให้มีการฟื้นตัวจากการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต แก้โรคลมชักหรือลมบ้าหมู และภาวะที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้
ผลที่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล และ การดำเนินชีวิตในประจำวันที่ถูกต้อง